ภาษาเก่า : วงจรการเกิดสุข

ปฏจสมุบาท : บทบาทแห่งการปฏิสัมพันธ์


เรามาทบทวนคำเก่าๆที่เรารู้จักกันก่อนดีกว่า


รูป นาม สัญญา

  • รูป คือ สิ่งใดๆ ที่ถูกชี้จาก นาม ด้วย สัญญา
  • นาม คือ สิ่งใดๆ ที่ชี้ รูป ด้วย สัญญา
  • สัญญา มีลักษณะเป็นลูกศร โดยเริ่มต้นที่ นาม ชี้ไปที่ รูป


กาย วิญญาณ จิต

  • กาย คือ สิ่งใดๆ ที่เป็นผู้รับสาร รับข้อมูล ด้วยวิญญาณ จาก จิต
  • จิต คือ สิ่งใดๆ ที่เป็นผุ้ส่งสาร ส่งข้อมูล ด้วยวิญญาณ สู่ กาย
  • วิญญาณ คือ สิ่งใดๆ ที่ส่งผลให้ สิ่งหนึ่ง/หลายๆสิ่ง ส่งสาร ส่งข้อมูล สู่ อีกสิ่งหนึ่ง/หลายๆสิ่ง


อริยสัจ : วิธีแก้ปัญหา

  • ทุกข์ คือ สิ่งใดๆที่เรามีแล้วเราไม่ต้องการ จึงต้องการย้ายสิ่งนั้นออกไปจากเรา
  • สมุทัย คือ เหตุปัจจัยที่ทำให้เรามีสิ่งใดๆที่เราไม่ต้องการนั้น บทนี้จะขยายความในส่วนนี้เป็นพิเศษ
  • นิโรธ คือ วิธีการแก้ปัญหา/วิธีการเปลี่ยนสิ่งใดๆ ในเชิงบัญญัติ ที่เราไม่ต้องการนั้นๆให้เป็นสิ่งที่เราต้องการ
    นิโรธ มีลักษณะดุจการเขียนแผนที่เดินทางสู่เป้าหมาย
  • มรรค มีส่วนของการ ปฏิบัติให้บรรลุผลและปรับปรุงตามแต่เหตุปัจจัย ในแนวทางของ นิโรธ
    มรรค มีลักษณะดุจ การเดินทางไปถึงเป้าหมาย


เวทนา

เมื่อเรามีความทุกข์  มีสิ่งใดๆที่เรามีแล้วเราไม่ต้องการ จึงต้องการย้ายสิ่งนั้นออกไปจากเรา

แปลว่า จะต้องมีผู้รับ สิ่งที่เราไม่ต้องการนั้นๆ อยู่ด้วย 

มีอยู่ 3 แบบด้วยกัน

  1. ทุกข์ ส่งไปให้ผู้รับ ผู้รับเป็น ทุกข์ เราเรียกการย้ายแบบนี้ว่า ทุกขเวทนา
  2. ทุกข์ ส่งไปให้ผู้รับ ผู้รับเป็น สุข เราเรียกการย้ายแบบนี้ว่า สุขเวทนา
  3. ทุกข์ ส่งไปให้ผู้รับ ผู้รับเกิดสภาวะ สะสม เราเรียกว่า ตัณหา
    หรือยังแยกไม่ออกว่า สิ่งที่รับมาเป็น ทุกข์ หรือ สุข กันแน่
เมื่อมีผู้ให้ ย่อมมีผู้รับ  เมื่อมีผู้รับ ย่อมมีผู้ให้


ภพ

การที่ สิ่งใดๆ สิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง จะส่งต่อสิ่งใดๆสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง ไปให้สิ่งใดๆอีกสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง ก็จำเป็นต้องมี ส่วนที่พบเจอกัน เราถึงจะส่ง สิ่งใดๆที่ว่าให้กันได้

เราจึงใช้คำว่า ภพ ในการ ชี้ ว่า จุดนี้นะ คือการพบเจอกัน ของสิ่งใดๆ ที่ว่า
จุดที่ว่าอาจเล็ก หรือใหญ่ ก็ได้ ลักษณะแบบไหนก็ได้ เมื่อมีการ พบเจอ กันเกิดขึ้น
จากสิ่งใดๆ สิ่งหนึ่ง หรือหลายสิ่ง ก็ตาม เราจะเรียก ขอบเขตนั้นๆว่า ภพ


ดังนั้น ภพ จะมีลักษณะการ ชี้ แบบอาณาเขตพื้นที่บริเวณขอบเขตอย่างมีในสำคัญกับ สิ่งใดๆ ที่กล่าวไป เช่น ฉากในเรื่องราว ห้องแชท กลุ่มคน สถานที่ต่างๆ 

การอยู่บ้าน โรงเรียน กลุ่มเพื่อน แต่ละที่ล้วนแแตกต่างกัน ในมุมมองและความรู้สึกนึกคิด รวมทั้งการอยู่กับตัวเองอ่านหนังสือเล่มนี้ เล่มนั้น ก็ต่างภพเช่นกัน


จะเห็นว่าขอบเขตคำจำกัดความของคำว่า ภพ นี่ กว้างมาก และอาจจะแตกต่างจาก ตำราอื่นๆ ที่ท่านเคยพบเจอมาเช่นกัน

เช่นที่กล่าวไป คำเดียวกันย่อมใช้อ้างอิงกันไม่ได้ เพราะเป้าหมายที่เราชี้นั้น ต่างกัน ความเข้าใจย่อมคลาดเคลื่อนได้

และนี่คือเหตุผลหนึ่งในการทำความเข้าใจ รูป นาม สัญญา ให้เข้าใจได้


ชาต

เมื่อ รูป หรือ นาม ปรากฎใน ภพ เราจะเรียกการปารกฏใหม่นี้ว่า ชาต ในภาษาเก่าเราอ่านว่า ชา ตะ 

มีความหมายถึง การเกิดขึ้น ปรากฎขึ้นมาใหม่


รูปแบบในการ เกิด หรือ ปรากฎขึ้นใหม่ มีด้วยกัน 4แบบเป็นเบื่องต้น

  1. เกิดจากการสร้างโดยสิ่งอื่น เช่น โต๊ะ เก้าอี้ รังนก เมฆ รุ้ง พระอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาว คน สัตว์ เป็นต้น
    อะไรก็ตามที่สร้างขึ้นหรือปรากฏมาโดยไม่ทราบ ก็จะอยู่ในกลุ่มนี้ รวมถึงการรวมร่างด้วยนะ
  2. เกิดจากสิ่งที่เหมือนหรือคล้ายกัน เช่น การเกิดของสัตว์ที่ออกลูกเป็นตัว เป็นต้น
  3. เกิดจากสิ่งที่ต่างกัน เช่น การเกิดออกมาจากไข่ ต้นไม้ที่งอกจากเมล็ด เป็นต้น
  4. เกิดจากการแบ่งเซลล์ เช่น สัตว์เซลเดียว การแตกหน่อของพืช  เป็นต้น

การมองว่า ชาต คืออะไรแบบไหน เราต้องมองดูที่ ภพด้วย เพราะมันมี ภพเล็ก ในภพใหญ่ เช่นกัน
เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เราจึงเรียกภพเล็กในภพใหญ่ว่า ภูมิ

จึงเป็นที่มาของ ภพภูมิ นั่นเอง



ชรา

เมื่อรูปในภพ เปลี่ยนแปลง ขยับ เคลื่อนไหว หรือ เกิดเวทนาขึ้น

การเปลี่ยนแปลงในรูปนั้นๆ อย่างต่อเนื่องทำให้เรารับรู้ถึงความแตกต่างกัน ของ ก่อนหน้า และ ปัจจุบัน เราเรียกการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ว่ามีลำดับต่อเนื่องสืบต่อกันมานี้ว่า ชรา

ชรา จึงมีคำจำกัดความว่า บันทึกด้วยเวลา  เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา 

ตัวอย่างเช่น จากอ้วนเป็นผอม จากเด็กเป็นผู้ใหญ่ การขยับแขนขา หยิบจับยกถือสิ่งของ เป็นต้น


วิญญาณ

วิญญาณ คือ การสื่อสาร

การสื่อสาร ระหว่าง ผู้ให้ ไปหา ผู้รับ   ผู้รับ ไปหา ผู้ให้

การสื่อสารระหว่าง ภพ ไปหา สิ่งใดๆ ในภพนั้นๆ   สิ่งใดๆ ในภพนั้นๆ ไปหา ภพ

การสื่อสารระหว่าง  ภพหนึ่ง ไปหา ภพใดๆ   ภพ ไปหา ภูมิในภพนั้นๆ ภูมิในภพ ไปหา ภพ

การสื่อสารระหว่างกัน เราจะเรียกว่า วิญญาณ ผู้ส่งก็เรียก จิต ผู้รับก็เรียก กาย


สังขาร

สังขาร คือ รูปภพ(รูป) และ อรูปภพ(สัญญา) ที่เชื่อมต่อกัน ด้วย วิญาณบริสุทธิ์(วิญญาณ)

ท่านสามารถเข้าใจสังขารได้ เมื่อเข้าใจ รูป นาม สัญญา , กาย วิญญาณ จิต ในรูปแบบ ภพ


มรณา

มรณา หมายถึง การจากลา แยกย้ายจากกันไป 

เช่นการออกจากภพๆหนึ่ง เป็นต้น


.
.
.

มีคำถามว่า แล้วเจ้าพวกนี้ รู้ไปเรียนไป เข้าใจไป มีประโยชน์ อะไร งั้นหรอ ?

คำตอบคือ คุณสามารถเข้าใจได้ว่า ข้าวผัดจานนึงมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรไงละ


ห๊ะ !!


คุณก็ลองไล่ดูสิ ข้าวผัดจานนึงนี่ มีครบเลย ตั่งแต่ รูป นาม สัญญา กาย วิญญาณ จิต ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เวทนา ภพ ชาต ชรา มรณา สังขาร  ครบเลย

แล้วคุณละ คิดว่ารู้อะไรบ้าง จากการเข้าใจเรื่องพวกนี้

[ หน้าถัดไป >> ]






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้