ภาษาเก่า : อวิชชาพาเพลิน

 วิชชา คืออะไร

วิชชา หมายถึง การเรียบเรียงความรู้ ความคิด มาตกตะกอนก่อให้เกิดผลึก

ดังนั้นในส่วนของ วิชชา จะมีส่วนของ ความรู้ ความคิด ผลึก และ ตะกอน


ความรู้

คือ สิ่งที่บ่งบอก บ่งชี้ ให้รู้ว่า มันมีแบบนี้ด้วยนะ 
ความรู้ เปรียบเหมือน น้ำทะเล ที่มีส่วนผสม สะสาร และสาร ต่างๆมากมาย ทั้ง พืช สัตว์ หิน ทราย น้ำ เกลือ และอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึง


ความคิด

คือ สิ่งที่ไม่รู้ว่า มี จึงเชื่อมโยงว่า น่าจะเป็น น่าจะมี แบบั้น แบบนี้ เพราะว่าเป็นแบบนี้แบบนั้น
เช่น เมื่อเรารู้ว่า บนบกมีสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ เป็นตัว  เมื่อ เราเห็นสัตว์ในทะเล เราจึงคิดว่า น่าจะมีไข่ ของสัตว์เหล่านั้นในทะเลเช่นกัน  เป็นต้น

ตะกอน

คือ สิ่งที่เราได้จาก การคิด วิเคราะห์ แยกแยะ
  • คิด คือการผูกโยงเรื่องราวสร้างมุมมองของความน่าจะเป็น
  • วิเคราะห์ คือ วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือ น้ำหนัก ของสิ่งที่คิดแล้วนำมาเปรียบเทียบ
  • แยกแยะ คือ การคัดสรรจัดกลุ่ม ไปในแนวทางเดียวกัน หรือคล้ายกันในแต่ละกลุ่ม อาจมีความซัพซ้อนของกลุ่มในเชิงมิติ เช่น แบบออกเป็น3กลุ่มใหญ่ ในแต่ละกลุ่มใหญ่แบ่งออกเป็นอีก หลายกลุ่มย่อย ซึ่งในกลุ่มย่อย อาจมีเท่ากัน หรือไม่เท่ากันก็ได้
เมื่อเราคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ความคิด ความรู้แล้ว  เราก็จะได้ความรู้ที่จับต้องได้ ละเอียดและหยาบตามแต่ละวิธีการและความต้องการ จึงเรียกว่า ตะกอน


ผลึก

คือ การทำความเข้าใจในตะกอนต่างๆ แล้วเรียบเรียงข้อมูลออกมา

ให้เปรียบเทียบ คงเปรียบเหมือน เกลือบริสุทธิ์ ที่ได้จากน้ำทะเล

เมื่อ เรารู้ว่า น้ำทะเลมีเกลือและอื่นๆอีกมากมาย
เมื่อเรารู้ว่า ความร้อนทำให้น้ำทะเล ระเหย แล้วจะเหลือ เกลือกับสิ่งต่างๆไว้
เมื่อเรานำสิ่งต่างๆออก เราก็จะได้ เกลือ ใช่ครับ เกลือ ไม่ใช่เกลือบริสุทธิ์ เพราะในตัวเกลือเราก็จะพบส่วนประกอบอื่นๆ เช่น เศษซากฝุ่นผง ที่เล็กๆ อาจทั้งภายในเมล็ดเกลือ หรือภายนอก ที่ยังไม่สามารถนำออกไปได้ จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยบเทียบให้เห้นถึงความแตกต่างของ เกลือ และ เกลือบริสุทธิ์ 

ดังนั้น การจะได้เกลือบริสุทธิ์มา เราจึงต้องใช้ทั้ง ความรู้ ความคิด การวิเคราะห์ การแยกแยะ และตกผลึก

ออกมาเป็น ความเข้าใจ

ในภาษาเก่าเราจึงเรียกว่า วิปัสสนา

ผลึกแต่ละชิ้น ประดุจ จิ๊กซอว์ ที่เราสามารถนำมาเรียงร้อยต่อกันเป็น กุญแจ ได้

และการเรียบเรียงกุญแจนี้ในภาษาเก่าเราก็เรียกว่า สมาบัติ


ดังนั้น สมาบัติวิปัสสนา จึงหมายถึงการ ทำความเข้าใจใน........ นั่นเอง

ผมก็ไม่รู้ว่าจะเรียกอะไรดี เว้นที่ว่างให้ท่านใช้ตีความกันเองเองแล้วกัน




อวิชชา 

อวิชชา คืออะไร

อวิชชา คือ สิ่งใดๆก็ตาม ที่ไม่ใช่วิชชา แค่นี้เลย

ตัวอย่างเช่น ส่วนหนึ่งของวิชชา ก็ย่อมไม่ใช่ วิชชา นั่นเอง


และ ใช่แล้ว ที่คุณอ่านๆที่ผมเขียนมาทั้งหมดนี่ ก็ อวิชชาล้วนๆ

ก็ถ้าคุณ ไม่คิด ไม่ตกตะกอน ไม่ก่อผลึก ไม่เข้าใจ มันก็ย่อมไม่ใช่ วิชชา ไงละ สงสัยก็ถาม ถ้าถามไม่ได้ก้เพียง พิจรณาเท่านั้นเอง


แล้วท่านละ ชอบเพลิดเพลินในอวิชชาแบบใด ^^

[ หน้าถัดไป >> ]



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้