เส้นทางแห่งปัญญา : สมุทัย
เริ่มต้นที่ สมุทัย กับ : วงจรการเกิดขยะ ?
อะไรคือ วงจรการเกิดขยะกัน ?
ขยะ คือ สิ่งมีค่า มีประโยชน์ ที่เรานั้น ไม่ต้องการ
เมื่อมันเป็นสิ่งมีค่า แต่เราดันไม่ต้องการ เราจึงต้อง ขนย้าย มันไปในส่วนที่เขาต้องการมัน
ทำไมใช้คำว่า ต้อง ด้วยละ เราใช้การทำความเข้าใจว่า
เมื่อเรามีสิ่งที่เราไม่ต้องการอยู่ นั่น ทำให้เราไม่ชอบ ไม่ชอบมีค่าเป็น ลบ จึงต้องการปรับเปลี่ยน ให้เป็น ชอบ ชอบมีค่าเป็น บวก
เราจะเรียกค่า ชอบกับไม่ชอบ ว่า พลังงานลบกับพลังงานบวก เราอาจใช้คำอื่นก้ได้ ความหมายเดียวกันเช่น สุขกับทุกข์ บุญกับบาป
เมื่อมีทุกข์ เราก็มองว่าเป็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไข
และเช่นกัน
เมื่อเราได้สิ่งของมีค่ามา เราก็จะมีความสุข และแน่นอน ต้องเป็นของที่เรา ต้องการ ด้วยนะ
ดังนั้น เมื่อเรา ขนย้าย สิ่งมีค่าที่เราไม่ต้องการ ไปสู่ ที่ๆต้องการสิ่งมีค่านั้น เราก็จะมีความสุข และที่ๆรับสิ่งมีค่านั้นไป ก็จะมีความสุข
และนี่คือกลไกรูปแบบเบื่องต้นที่ใช้ในการคิด
การที่เรียกได้ว่าเป็นวงจร แปลว่ามีการเกิดซ้ำนั่นเอง
ขยะ มีแบบไหนบ้าง
ขยะนั้นมีอยู่ในทุกๆแบบ ทั้งในแบบที่เรารับรู้ และในแบบที่เราไ่สามารถรับรู้ได้
เรารับรู้ผ่านทางไหนละ ก็ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ปัญญา
ดังนั้นขยะก็มาในลักษณะ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ ความรู้สึก และการเรียบเรียงความ
ใช่แล้ว ก็มีทุกอย่างที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันนั่นแหละ บางทีเราก็เรียกว่า มลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ และอื่นๆอีกมากมาย
จุดเริ่มต้นของขยะ ที่ไม่ใช่ ขยะ
ขยะ คือ สิ่งมีค่า มีประโยชน์ ที่เรานั้น ไม่ต้องการ
แปลว่า ในตอนแรกนั้นที่เราได้สิ่งนี้มา มันคือ สิ่งมีค่า มีประโยชน์ ที่เรานั้นต้องการ หรือบางทีเราอาจไม่ต้องการแต่แรกก็ได้ แต่ที่แน่ๆ มันอยู่ในการรับรู้ของเรา
ตัวอย่าง ข้าวกล่อง เมื่อเรากินข้าวเสร็จ กล่องข้าว กลายเป็นขยะ ทั้งๆที่ ตอนแรก เราก็ต้องการ กล่องข้าว ในการใส่ข้าวกลับมากิน เป็นต้น
ขยะ สามารถเปลี่ยนรูปได้
เช่น ใบไม้
เราจับต้องได้ วางเกะกะทำให้เดินลำบาก ก็ขยะทางกาย
มองไปดูรกไม่ชอบใจ ก็ขยะทางตา
เมื่อนำไปเผา มีควัญ กลิ่น ก็ขยะทางจมูก
ควัญไปรบกวนคนอื่น เราอาจโดนเขม่นใส่ ก็เป็น ขยะ ทางอารมณ์
แล้วทำไงดี คิดไม่ออก จัดการยังไง นี่เรียกขยะทางปัญญาได้ไหมนะ
อยากได้เพียงช่วงสั้นๆ ก็ของมันจำเป็น
เช่น เรากินข้าว เราก็จำเป็นต้องมีจาน ช้อน ซ่อม ตะเกียบ และอื่นๆ เมื่อใช้เสร็จ เราก็ เอาไปล้าง
นี่ก็เป็นหนึ่งในรูปแบบวงจรเช่นกัน แต่แบบนี้ไม่มีปัญหา เพราะเราสามารถวนกลับมาใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ
ใบไม้ ต้นไม้ใช้สังเคราะห์แสง เมื่อหมดประโยชน์ ก็ส่งต่อให้ดินทับถม แมลง แบคทีเรีย เห็ดรา ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย
วงจรของการส่งต่อและวนกลับคืน
ในหลายๆสิ่งหลายๆอย่าง ในชีวิตเราหรือที่เราพบเจอล้วนเป็นแบบนี้ แค่เรารู้ เห็น เข้าใจ หรือไม่สนใจแค่นั้นเอง
สุข ที่กลับกลายเป็น ทุกข์
จะเห็นได้ว่ามุมมองที่เราใช้กับคำว่า ขยะ ที่เราใช้นั้นค่อนข้างกว้างมาก
หลักๆที่เราอธิบายไปก็คือ สิ่งที่เราเรียกว่าทุกข์ หรือ การเกิดทุกข์ นั่นเอง
เมื่อสิ่งที่เรามีอยู่เรานั้นไม่ต้องการ ก็เรียกว่าเป็น ทุกข์
เมื่อเกิดทุกข์(มีขยะ) เราก็ต้องการทำบางสิ่งให้ทุกข์หมดไป และเปลี่ยนมันให้กลายเป็น สุข(ย้ายที่อยู่ขยะ)
เมื่อเรารับสิ่งมีค่ามา(สุข) แล้วเมื่อสิ่งมีค่านั้นเราไม่ต้องการแล้ว เราก็จะมีขยะ(เกิดทุกข์) ให้เราจำเป็นต้องไปจัดการ
ลักษณะวนไปวนมาวนซ้ำแบบนี้ จนดูเหมือนหาจุดจบไม่ได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น