เส้นทางแห่งปัญญา : อริยสัจ

หลักการแก้ปัญหาเบื้องต้น


หลักการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น คือ พื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่ง ในการใช้ชีวิตให้มีความสุข 

วิธีการ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ เรามีกันมานานแล้ว เป็น ปกติวิสัย


อย่างในศาสนาพุทธ ก็มีเรื่องของ อริยสัจ 4 : ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่ใช้ในการ อธิบาย และทำความเข้าใจในเรื่องนี้ เราก้จะขอ ยืม คำของเขา มาใช้ในการ อธิบาย เช่นกัน

เราลองมาแปลความของ 5 คำ นี้กันดูหน่อยดีกว่า ผมแปลตามความเข้าใจชองผมในท่านฟัง ดังนั้น อาจไม่ตรงตามตำราที่ท่านอ่าน  

(ผู้มาอ่านหากขัดใจ อย่าลืมพิจรณา อารมณ์ของตนเอง ว่าท่านกำลังปรุงแต่งสิ่งใดอยู่หรือไม่ ท่านสามารถปิดสิ่งที่ท่านอ่านอยู่ลงได้ทันที หรือ ย้อนกลับไปอ่านหน้าแรกของเราใหม่ โปรดพิจรณา)


อริยสัจ แปลว่า ผู้พึงพิจรณาความเป็นจริงด้วยความเห็นที่ตรงไปตรงมาต่อตนเองและผู้อื่น

อริยสัจ 4 : จึงหมายถึง หลักการที่เข้าใจได้ 4 อย่าง ประกอบไปด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


ทุกข์

ความทุกข์ หมายถึง ปัญหา  สิ่งที่เราไม่ชอบ ไม่อยากอยู่ในเหตุการณ์ หรือ สภาพ หรือ สภาวะนั้นๆ 

ความทุกข์ มีหลายแบบ เช่น ทุกข์กาย ทุกข์ใจจากคนอื่น สิ่งอื่นที่มากระทบ ทุกข์ใจจากเราคิดไปเองวนไปวนมา แล้วแต่แต่ละคน


เมื่อเรามี ทุกข์ หรือ มีปัญหา และ เราต้องการออกจากความทุกข์ หรือ ปัญหาที่ว่า เราก็ต้องมองหาเป้าหมาย คือ เราต้องการแบบไหน อยากได้แบบไหน นั่นแหละ เราก็เรียกจุดหมายปลายทางนี่ว่า มรรค


คราวนี้ เมื่อเรา รู้ว่า 

ทุกข์ หรือ ปัญหาเรา คืออะไร

มรรค หรือ เป้าหมายที่เราจะไปถึง คืออะไร


เราก็จะสามารถ คิด พิจรณา มองหา เส้นทาง วิธีการ ที่จะออกจากทุกข์ หรือปัญหาของเรา ไปสู่ เป้าหมายที่เราตั้งไว้ได้  เราเรียกเส้นทางนี้ว่า  นิโรธ


แต่ในบางครั้ง ความเข้าใจในปัญหา ความเข้าใจในความทุกข์ ความเข้าใจในเส้นทาง หรือแม้แต่ความเข้าใจในเป้าหมายปลายทางของเรา เราก็ไม่ได้เข้าใจมันดีพอ 

พอเราไม่เข้าใจดีพอ เลือกเส้นทางได้ไม่ดีพอ เราก็จะเกิดความทุกข์ หรือปัญหา อาจจะแบบเดิม หรือ แบบใหม่มาให้เรา แก้ไข พิจรณา คิดวิเคราะห์ แยกแยะ จัดเรียงและ หาทางออกจากปัญหาที่ว่านั่น ต่อไป 


กลายเป็นว่า เราก็ยังมีปัญหา หรือมีความทุกข์ อยู่นั่นเอง



สมุทัย

สมุทัย คือ หัวใจของปัญญา

เมื่อคุณ เข้าใจ วงจรของ ทุกข์ หรือ ปัญหาของคุณ ทุกข์เดียวกัน มรรค เดียวกัน แต่ นิโรธ เปลี่ยนแปลง ผลลัพท์ย่อมแปรเปลี่ยนตาม 


อยากไปเส้นทางไหนดี ไปแล้วจะแก้ปัญหา หรือทุกข์ต่อไปที่จะเจอแบบไหนดี 

สิ่งนี่แหละ ที่เป็นส่วนสำคัญ ในการแก้ปัญหา แก้ทุกข์ แก้โจทย์ของการหาเส้นทางที่เราจะเลือกและเดินทางให้ไปถึงเป้าหมายที่เรานั้น ต้องการจริงๆ

การเข้าใจในส่วนของ สมุทัยจึงสำคัญ เราสามารถเรียกส่วนนี้ว่า การ วิเคราะห์ปัญหา ก็ได้ ง่ายดี


นิโรธ

นิ-โร-ธะ แปลว่า  เส้นทางที่วางไว้เสร็จแล้ว

เรียกง่ายๆว่า การวางแผนเส้นทางในการทำสิ่งต่างๆ ดำเนินชีวิต แก้ปัญหา ก็ได้

เมื่อเราเข้าใจ วิเคราะห์แก้ปัญหา เราก้จะมาหาเส้นทางโดยการจำลอง อาจในความคิด จินตนาการ ในคอมพิวเตอร์ ในสิ่งต่างๆ อีกมากมาย การคุย ปรึกษา หารือ กับผู้มีประสบการณ์ หรือ คุยกับ คนที่พบเจอปัญหา ร่วมกันหาทางออกทางแก้ไข


ในสมัยก่อนก็มีคำศัพท์นึงเช่นกัน  นิโรธสมบัติวิปัสนา คือ การคิด วิเคราะห์ แยกแยะปัญหาออกมาเป็นแผนที่เส้นทางที่เราจะไป นั่นเอง


มรรค

มค แปลว่า ปลายทางผลผลิต

อ่านว่า มะ-คะ  เมื่อพูดเร็วๆ หรือเรียกย่อรวมกับคำอื่นๆ  ก็จะออกเสียงเป็น มัค


แล้วทำไมเธอจะไม่เดินทางไปเอามันละ ผลผลิตที่ปลายทางนั่นอะ



อริยสัจ 4 เส้นทางสู่ปัญญา ก็มีเพียงเท่านี้

แต่เราก็ยังไม่จบเพียงเท่านี้หรอกนะ หากท่านสังเกตุ ท่านจะเห็นว่า มันมีเป็นลูป ลำดับชั้น

และอย่าลืมว่านี่เป็นเพียงส่วนเล็กๆที่เราแนะนะเพื่อได้สนทนากับท่านเท่านั้นเอง


[ หน้าถัดไป >> ]






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้